บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8
วิชา  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
(Learning Experiences Management in Early Childhood Education) กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2560



สอบสอนแผนเสริมประสบการณ์


หน่วย ดิน เรื่องประเภทของดิน ประจำวันจันทร์



สอนแผนเสริมประสบการณ์ หน่วยนม เรื่อง ประเภทของนม วันจันทร์




สอนแผนเสริมประสบการณ์ หน่วยสัตว์ เรื่อง ประเภทของสัตว์ วันจันทร์



สอนแผนเสริมประสบการณ์ หน่วยนม เรื่อง ลักษณะของนมวันอังคาร



ประเมินผู้สอน : อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีน้ำเสียงในการสอนที่น่าฟัง ให้คำแนะนำแก่นักศึกษา
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง:แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วิชา  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
(Learning Experiences Management in Early Childhood Education) กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2560


นิทานเรื่อง " กับดักหนู"












โทรทัศน์ครู Project Approach "การสอนแบบโครงการ"





5 ลักษณะของ Project Approach 
  • ลักษณะที่ 1 การอภิปราย
  • ลักษณะที่ 2 การนำเสนอประสบการณ์เดิม
  • ลักษณะที่ 3 การทำงานภาคสนาม
  • ลักษณะที่ 4 การสืบค้น
  • ลักษณะที่ 5 การจัดแสดง

วิธีจัดการเรียนการสอนแบบโครงการมี 4 ระยะ  คือ 
  • ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ 
  • ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา 
  • ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น 
  • ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน 
  • มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรมคือ กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมสืบค้น และกิจกรรมนำเสนอผลงาน 
  • กิจกรรมสืบค้นมีหลากหลายได้แก่ การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ การปฏิบัติทดลอง การรวบรวมเอกสาร การรายงาน การจัดแสดงผลงานที่ได้จากโครงการ เป็นต้น 
  • เรื่องที่จะเรียนมาจากความสนใจของเด็กที่ต้องการเรียนอย่างลุ่มลึก เด็กจึงเป็นผู้วางแผนและร่วมคิด ร่วมมือสืบค้นกับผู้อื่น ครูเป็นผู้สนับสนุน สังเกตและอำนวยความสะดวก หากเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้ มีแหล่งข้อมูลเพียงพอ พ่อแม่และชุมชนมีความพร้อมที่จะร่วมมือ 
  • ทักษะการเรียนรู้หนังสือจำนวน ให้บูรณาการในหัวเรื่องโครงการ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา ดังนั้น หัวเรื่องหนึ่งที่เด็กสนใจเรียนรู้นั้นต้องมีเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์และควรสำรวจที่โรงเรียนเหมาะกว่าที่บ้าน

การเรียนการสอนแบบโครงการจะตอบสนองการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญา ของโฮวาร์ด การ์ดเนอร์ 

ทฤษฎีพหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
  • 1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง
  • 2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร
  • 3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์ สายวิทย์ ก็มักเป็น นักประดิษฐ์ วิศวกร ส่วนสายศิลป์ ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น จิตรกร วาดรูป ระบายสี เขียนการ์ตูน นักปั้น นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก เป็นต้น
  • 4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม
  • 5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง
  • 6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ
  • 7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใดมีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิจัย
  • 8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา(Naturalist Intelligence)คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักสำรวจธรรมชาติ

ตรวจแผนเสริมประสบการณ์ครั้งที่ 2

ประเมินผู้สอน : อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีน้ำเสียงในการสอนที่น่าฟัง
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง:แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน



บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6
วิชา  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
(Learning Experiences Management in Early Childhood Education) กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2560



กิจกรรม เพลงที่ฝึกการใช้สมองเป็นฐาน



เพลง อย่าเกียจคร้าน






เพลง ศูนย์ สอง ห้า สิบ




เพลง จับหัว จับหู จับไหล่





เทคนิคการสอนร้องเพลง
  1. อ่านให้เด็กฟัง
  2. ให้เด็กตามทีละวรรค
  3. ร้องพร้อมกัน
    อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาสอนแผนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะของแต่ละหน่วย ซึ่งมีทั้งหมด 4 หน่วย
1.นม
2.ดิน
3.ไข่
4.กล้วย
      
       โดยอาจารยืให้คำแนะนำเทคนิคในการสอนแผนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้กับนักศึกษานำไปปรับใช้ให้แผนการสอนมีความสมบูรณ์ถูกต้องมากขึ้น



ประเมินผู้สอน : อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีน้ำเสียงในการสอนที่น่าฟัง
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง:แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน





บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วิชา  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
(Learning Experiences Management in Early Childhood Education) กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 4 มีนาคม  พ.ศ.2560

สอบสอนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
ดังนี้
  • หน่วยไข่
  • หน่วยนม
  • หน่วยดิน







ประเมินผู้สอน : อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีน้ำเสียงในการสอนที่น่าฟัง
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง:แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน



บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 วันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10 วิชา  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย (Learning Experiences Management in Early Childhood Educa...