บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4
วิชา  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
(Learning Experiences Management in Early Childhood Education) กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 20 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2560

อาจารย์ให้นักศึกษาที่เขียนแผนเคลื่อนไหวและจังหวะ วันจันทร์ ออกมาสอนแผน

หน่วยไข่


หน่วยนม




ที่มาของหน่วยที่สอน มาจากไหน

        ที่มาของหน่วยที่สอน มาจากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก หรือสาระที่เด็กควรเรียนรู้ 4 สาระ เมื่อได้หัวข้อ หรือ หน่วยที่สอนแล้ว ให้นำมาแตกเนื้อหา เพื่อจะได้รู้ว่าเนื้อหาที่เราจะเรียนมีอะไรบ้าง ซึ่ง เนื้อหาต้องจัดให้ตรงตามพัฒนาการของเด็กด้วย

 ออกแบบการจัดประสบการณ์
       
          - ยึดหลักของทฤษฎีพัฒนาการ เช่น  ทฤษฎีพัฒนาการของ Piaget 

              เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ พัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการ อย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการ กระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม
หลักพัฒนาการตามแนวคิดทฤษฎีนั้นเป็นอย่างไร
              เพียเจต์ ให้ชื่อการพัฒนาการของเด็กวัยรุ่นหรือวัยมัธยมศึกษาว่า Formal Operation สามารถคิดได้แบบผู้ใหญ่ คือ
       -      คิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมได้         
       -      มีความสนใจในปรัชญาชีวิต ศาสนา อาชีพ
       -      สามารถใช้เหตุผลเป็นหลักในการตัดสินใจ
       -      สามารถคิดเหตุผลได้ทั้งอนุมานและอุปมาน
       -      มีหลักการในการให้เหตุผลของตนเอง เกี่ยวกับความยุติธรรม เสมอภาคและมีมนุษยธรรม


การเขียนแผนการจัดประสบการณ์

1. วัตถุประสงค์ คือ สิ่งที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก

2. สาระที่เด็กควรเรียนรู้  คือ สิ่งที่เด็กเรียนรู้

3. แนวคิด คือ คอนเซ็ปของเรื่องที่จะสอน เช่น ไข่มีหลายชนิด เช่น ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทาเป็นต้น ไข่มีลักษณะที่กลมๆเรียวๆ มีหลายขนาดที่แตกต่างกัน ใหญ่ ปานกลาง และเล็ก เป็นต้น

4. ประสบการณ์สำคัญ คือ มาจากหลักสูตร เป็นพัฒนาการทั้ง4 ด้าน

5. รายวิชา (การบูรณาการ) เช่น
กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์
กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น  การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กลุ่มไข่
1) ปัญหา : จะทำยังไงให้ไข่กินได้ ?
2) ตั้งสมมติฐาน : เมื่อนำไข่ไปนึ่ง ทอด ต้ม (ใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง)ไข่จะสุกและสามารถกินได้
3) ทดลอง : ใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต เมื่อนึ่ง ทอด ต้ม (ใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง) ไข่จะสุกจากของเหลวกลายเป็นของแข็ง สีเปลี่ยนจากไข่ขาวที่มีสีใสจะเปลี่ยนป็นสีขาว 
4) สรุป : พอนึ่ง ทอด ต้ม (ใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง)แล้วไข่สุกสามารถกินได้


กลุ่มนม 
1) ปัญหา : จะทำอย่างไรให้นมเป็นไอศกรีมได้?
2) ตั้งสมมติฐาน : เมื่อนำเกลือไปใส่ในน้ำแข็งนมจะเเข็งตัวได้
3) ทดลอง : ใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต เมื่อนำเกลือไปใส่ในน้ำแข็ง นมจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็งและเป็นไอศกรีมได้
4) สรุป : นำเกลือไปใส่ในน้ำแข็งเกลือไปทำปฏิกิริยากับน้ำแข็งทำให้นมสามารถแข็งตัวได้


กลุ่มดิน
1) ปัญหา : เลือกดินแบบไหนมาปลูกพืช?
2) ตั้งสมมติฐาน : ถ้าเทน้ำลงไปในดินแต่ละชนิด ดินทราย น้ำไหลผ่านได้เร็ว ดินร่วน น้ำไหลผ่านได้ช้ากว่าดินทราย และ ดินเหนียว น้ำไหลผ่านได้ยาก
3) ทดลอง : เทน้ำผ่านดินแต่ละชนิด (หาพืชที่ต้องการน้ำปานกลาง)
4) สรุป : ดินที่เหมาะแก่การปลูกพืช คือ ดินร่วน เนื่องจากน้ำไหลผ่านได้ปานกลาง ไม่เร็วและช้ามากเกินไป


6. แผนที่เครือข่ายใยแมงมุม (Web กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม)



ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้

**สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้**

วัตถุประสงค์

คือ สิ่งที่เด็กต้องทำ
สาระที่เด็กควรเรียนรู้ 

คือ เนื้อหาที่เราจะสอน
แนวคิด
คือ คอนเซ็ป ตัวสรุป
ประสบการ์ณสำคัญ
นำมาจากหนังสือหลักสูตร
กรอบพัฒนาการและกิจกรรม
เป็นเกณฑ์ในการประเมิน

การบูรณาการ
คือ การนำศาสตร์ต่างๆ มาผสมผสาน รวมกัน ผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

     1.คณิตศาสตร์

กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


      2. วิทยาศาสตร์

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นสังเกตและระบุปัญหา
     คือ ระบุปัญหาเรื่องที่ต้องการศึกษา และกำหนดขอบข่ายของปัญหา
ขั้นตั้งสมมติฐาน
     คือ การคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น หรือ คาดเดาคำตอบที่ได้รับ
ขั้นรวบรวมข้อมูล
     คือ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยันโดยการสังเกต หรือ การทดลอง


ขั้นสรุปผล
     คือ การสรุปว่าจะปฏิเสธหรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา
ปัญหา - -> คำถาม - -> สมมติฐาน - -> ทดลอง - -> สรุป

ในหัวข้อวิทยาศาสตร์นี้ อาจารย์ให้คิดปัญหา และตั้งสมมติฐาน
กลุ่มดิน
ปัญหา : ดินชนิดไหน น้ำไหลผ่าน หรือ ดูดซึมน้ำได้ดีที่สุด และเหมาะกับการปลูกพืชมากที่สุด

สมมติฐาน : ดินทราย     น้ำน่าจะไหลผ่านได้ดีที่สุด
                    ดินร่วน        น้ำน่าจะไหลผ่านได้น้อยกว่าดินทราย
                    ดินเหนียว   น้ำไหลผ่านได้ยากกว่าดินทราย และ ดินร่วน

      3. สังคม
การทำงานเป็นกลุ่ม
การช่วยเหลือตนเอง
การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

      4. ศิลปะ
กิจกรรม ปั้น ฉีก ตัด ปะ

      5. ภาษา
การฟัง
การพูด
ตัวอย่างการสอนเสริมประสบการณ์ หน่วยไข่

เพลง  - ->  ถามเนื้อหาในเพลง  - ->  เขียน ไข่ที่มีอยู่ในเพลง และ ไข่ที่มีนอกเนื้อในเพลง  - ->  เอาไข่ใส่กล่องให้เด็กล้วง  - ->  เอาออกมาให้ดู  - ->  ให้เด็กคาดคะเนว่ามีไข่ประมาณที่ใบ  - -> นำมาวางเรียงกันเป็นแถว  - -> นับตัวเลข  - ->  เขียนเลขฮินดู-อาร์บิก  - ->  แยกประเภท  - -> นำออกมา  - ->  เรียงเป็นแถว  - ->  นับจำนวนให้เด็กตอบจากการดูด้วยตา    - ->  จับคู่ 1 ต่อ 1 


การจัดสภาพแวดล้อม
      การสภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำ เด็กจะได้เกิดการเรียนรู้ เช่น การจัดสภาพแวดล้อมแบบบูรณาการผสมผสานให้ศาสตร์ต่างๆรวมกัน (จนมองไม่ออก) เช่น การทำน้ำปั่น ที่มีส่วนผสมกลมกลืนกันจนแยกไม่ออกว่าอะไรคืออะไร


ประเมินผู้สอน : อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีน้ำเสียงในการสอนที่น่าฟัง
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง:แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน




บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3
วิชา  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
(Learning Experiences Management in Early Childhood Education) กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 6 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2560


ปรัชญาของการศึกษาปฐมวัย

          "การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม"
  
หลักการ
          1.การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
          2.การสร้างสภาพแวดล้อมที่เื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
          3.การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
          4.การบูรณาการการเรียนรู้
                    ผสมผสานให้เข้ากัน บูรณาการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                              1.บูรณาการแบบไม่เห็นร่องรอย เช่น สมูทตี้
                              2.บูรณาการแบบเห็นร่องรอย เช่น ส้มตำ
                    บูรณการให้สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
          5.การประเมินพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก
                    ต้องรู้ว่าสุดท้ายที่จัดประสบการณ์ เด็กมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ต้องมีการประเมิน ประเมินโดยการสังเกต ---> แบบสังเกต ประเมินโดยการสนทนา ---> แบบบันทึก ประเมินโดยผลงานเด็ก ---> ดูคุณลักษณะตามวัย เป็นเกณฑ์ ถ้าประเมินหลาย ๆ อย่างร่วมกันเรียกว่า Portfolio
         
            6.ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวเด็ก เช่น การเยี่ยมบ้าน การรับส่งเด็ก จดหมาย บอร์ดให้ความรู้ผู้ปกครอง สื่อสังคมต่าง ๆ ติดต่อทาง Internet

หัวเรื่อง คือ สาระที่เด็กควรเรียนรู้ ซึ่งมี 4 สาระ ดังนี้
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
ธรรมชาติรอบตัว
สิ่งต่างๆ รอบตัว
** ซึ่งทั้ง 4 สาระที่เด็กควรเรียนรู้ จะเป็นตัวกำหนด ชื่อหน่วย ต่างๆ **

อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 5 คน คิดหน่วยที่จะสอน กลุ่มละ 1 หน่วย

     โดยแบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

หน่วยนม




หน่วยไข่





หน่วยดิน



คิดแผนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ในหน่วยของกลุ่มตัวเองตั้งไว้ ระยะเวลา 5 วัน จันทร์ - ศุกร์



ประเมินผู้สอน : อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียน
ประเมินตนเอง: มีสมาธิขณะกำลังเรียน



บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 วันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2
วิชา  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
(Learning Experiences Management in Early Childhood Education) กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่  30 มกราคม พ.ศ.2560

การบริหารจัดการชั้นเรียน

การจัดที่นั่งของเด็ก

        กรณีที่เด็กนั่งอยู่กับพื้นราบ ครูควรหาเก้าอี้เล็กๆ มานั่งสอน เพราะถ้าครูยืนสอน จะทำให้เด็กต้องนั่งเงยหน้าขึ้นมองครูตลอดเวลา ทำให้เสียสุขภาพของเด็กได้
ในขณะสอน ครูควรยืนอยู่ตรงกลางหน้าชั้นเรียน ไม่ยืนอยู่ในระนาบสายตาด้านข้างของเด็กแถวหน้า
เทคนิคการจัดที่นั่งเด็กเป็นครึ่งวงกลมในขณะที่เด็กยืนเป็นแถวตอนลึก
ใช้เทคนิคการร้องเพลง

เพลง เข้าแถว

ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงปรบมือแผะ 
แขนซ้าย (ขวา) อยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ


ตัวอย่าง

  •  แบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม เช่น กลุ่มสตอเบอรี่  กลุ่มกล้วย กลุ่มส้ม
  • ให้กลุ่มสตอเบอรี่ หันไปทางด้านหวา กลุ่มส้ม หันไปทางด้านซ้าย โดยใช้เพลงในการบอกเด็ก
  • จากนั้นให้ กลุ่มกล้วย ที่อยู่แถวกลาง เดินไปจับมือกับ กลุ่มสตอเบอรี่ และกลุ่มส้มและจัดเด็กให้นั่งให้เรียบร้อย

บรรยากาศการจัดชั้นเรียน


  • ควรจัดให้ลดปัญหาการกระทบกระทั่งมากที่สุด หรือ จัดให้ลดการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด

การเล่นตามมุมและการจัดมุมประสบการณ์

          ควรให้เด็กได้เลือกเล่น และเล่นอย่างอิสระ ให้เด็กตัดสินใจด้วยตนเอง จากนั้นเด็กก็จะได้รับประสบการณ์จากการเล่นที่ตนเลือก และเด็กจะเกิดการเรียนรู้ ซึ่งการจัดมุมประสบการณ์ หรือ มุมต่างๆ ควรจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะดวกต่อการใช้งาน

การจัดที่นั่งในวิชาศิลปะ
       
           ให้นั่งเป็นกลุ่มหรือเป็นฐาน บนโต๊ะหรือที่พื้นก็ได้ ตามความเหมาะสมของสภาพห้องและกิจกรรม
เพิ่มเก้าอี้ว่าง 1 ตัว ในทุกๆ กลุ่มหรือฐาน เพื่อไม่ให้เด็กคนที่ทำงานเสร็จก่อน รอที่จะเข้ากลุ่มทำฐานต่อไป เมื่อมีเก้าอี้ว่าง 1 ตัว เด็กก็สามารถเข้าไปนั่งทำได้เลย
เพลงที่ใช้ให้เด็กช่วยเก็บของ

เพลง เก็บ

เก็บ เก็บ เก็บ มาช่วยกันเก็บ ของ (เก้าอี้,ดินสอ,หนังสือ) ที
เร็วคนดี มาเก็บเข้าที่เร็วไว

เพลง เก็บของเล่น

ของเล่นเก็บให้เป็นระเบียบ     จะเรียบร้อยโดยฉับพลัน
     พวกเราจะต้องช่วยกัน           ทุกวันเก็บของเล่นให้ดี (ซ้ำ)

เพลงที่ใช้เรียกเด็ก ผู้หญิง/ผู้ชาย ออกไปเข้าแถวก่อน

เด็กผู้หญิงอยู่ไหนๆ อยู่นี่จ๊ะๆ
สุขสบายดีหรือไร สุขสบายทั้งกายและใจ
ไปก่อนละ สวัสดี

เด็กผู้ชายอยู้ไหนๆ อยู่ที่ครับๆ
สุขสบายดีหรือไร สุขสบายทั้งกายและใจ
ไปก่อนละ สวัสดี

เพลงที่ทำให้เด็กสงบ

เอามือวางไว้ที่ หัว ช่างน่ากลัว น่ากลัวจริงๆ
เอามือวางไว้ที่ ไหล่ ช่างไฉไล ไฉไลจริงๆ
เอามือวางไว้ที่ อก ช่างตลก ตลกจริงๆ
เอามือวางไว้ที่ ตัก ช่างน่ารัก น่ารักจริงๆ


นั่งตัวตรงๆ วางมือลงไว้บนตัก
เด็กๆ ที่น่ารัก ต้องรู้จักตั้งใจฟัง
ต้องรู้จักตั้งใจดู
ต้องรู้จักฟังคุณครู


ปิดหูซ้ายขวา ปิดตา 2 ข้าง ปิดปากเสียงบ้าง แล้วนั่งสมาธิ


ปรบมือ แปะๆๆ  เรียกแพะเข้ามา แพะไม่มา เอามือปิดปากรูดซิป


หนึ่ง สอง สาม หนึ่ง สอง สาม เรือแล่นตามกันมา
ลอยไปตามน้ำใส ลอยไป ลอยไป ลอยมา ลอยมา แล้วก็ ลอยไป


วิธีสงบเด็ก
สร้างข้อตกลง เช่น กอดอก แล้วต้องเงียบ , ปรบมือ แล้วต้องเงียบ เป็นต้น
ให้ครูทำท่าทางต่างๆ แต่ไม่มีเสียง เพื่อเรียกความสนใจ ให้เด็กหันมาดูว่าครูต้องการจะสื่อสารอะไร



ประเมินผู้สอน : อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีน้ำเสียงในการสอนที่น่าฟัง
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง:แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน



บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 วันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10 วิชา  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย (Learning Experiences Management in Early Childhood Educa...